คนเราควรเป็นน้ำเต็มแก้ว

วันนี้ผมได้นั่งทำงานที่หนึ่งในบริษัทฯ ที่ผมเป็นที่ปรึกษา พนักงานบอกว่า อยากให้พี่คุยกับฝ่ายกฎหมายของบริษัทฯ ลูกค้าหน่อย ฝ่ายกฎหมายของลูกค้าโต้แย้งเรื่องหนังสือมอบอำนาจ …ผมคุยเสร็จแล้ววางสาย ด้วยอารมย์ตกใจมากที่S__3268760นักกฎหมายประจำบริษัทฯ ไม่เข้าใจหลักการของกฎหมายเบื้องต้นแบบนี้ แถมท้ายด้วยอัตตาก้อนมหึมา…. ผมนั่งลงตั้งสติสักพัก ก่อนนั่งเขียนเรื่องนี้ สิ่งที่ผมอยากเล่า ไม่ใช่หลักกฏหมายที่ผิดเพี้ยน หรืออัตตามหาศาลของคู่สนทนา หรืออันตรายของการใช้วิชาชีพที่ผิดเพี้ยน …แต่ที่ผมอยากเขียน ผมอยากเล่าเรื่องการเปิดใจเรียนรู้ …ผมเคยได้ยินว่า “คนเราควรเป็นน้ำครึ่งแก้ว” ทุกคนบอกคนอื่นว่าตัวเองเป็นน้ำครึ่งแก้ว พร้อมจะเรียนรู้และไม่มีวันเต็ม แต่บนหลักความจริงแล้วทุกคนล้วนแต่มีอัตตาและมีความเป็นตัวของตัวเอง น้อยคนนักที่จะเป็นน้ำครึ่งแก้ว ทุกคนพร้อมจะเป็นน้ำเต็มแก้วเสมอ แต่ผมว่าปัญหามันไม่ใช่น้ำเต็มแก้ว หรือน้ำครึ่งแก้ว ดีกว่ากัน…ผมว่ามันขึ้นอยู่กับการจัดการกับน้ำในแก้วต่างหาก … หากเมื่อใดที่ตัวเองเป็นนำเต็มแก้ว ก็พร้อมที่จะเทออกแล้วกลายเป็นแก้วเปล่าอีกครั้ง.. พร้อมรับน้ำใหม่อยู่เสมอ ผมว่าการเป็นน้ำเต็มแก้วแต่สามารถเทออกได้ตลอดเวลา มันช่วยให้น้ำในถังที่เราเทเมื่อเต็มแก้วมันสูงขึ้น เพราะการเป็นน้ำเพียงครึ่งแก้วเสมอ เราจะไม่มีสีเป็นของตัวเอง..เมื่อใดก็ตามที่ผสมกับสีของน้ำอื่น แก้วเราก็จะมีผิดเพี้ยนไป … อันว่ากฎหมายนั้นต้องยืนบนหลักที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ มากว่าความเห็นหรือธรรมเนียมที่ “เค้า” ปฏิบัติตามกันมา โดยหลักการของกฎหมายในแก่นแท้นั้นเป็นสากล หากเข้าใจแล้วก็เหมือนกับการขี่จักรยาน เพียงแต่ปรับว่ากำลังปั่นขึ้นเขา หรือ วิ่งทางเรียบ แต่เราต้องขี่จักรยานให้เป็นเสียก่อนไม่ได้เพียงปั่นจักรยานได้ … หากนักกฎหมายไม่ยืนอยู่บนหลักกฎหมายแล้ว ก็หาใช่กฎหมายไม่ …มีคนชอบบอกว่าทำไมกฏหมายไม่ยุติธรรม … ผมก็ชอบถามว่าความยุติธรรมคืออะไร?? …ตอนเรียนปริญาโท … วิชานิติปรัชญา … ได้มีการออกข้อสอบข้อนี้เสมอ …ความยุติธรรมคืออะไร??? ทุกคนรู้คำถามแต่คำตอบทุกคนแทบจะไม่เหมือนกัน ..เพราะในทางปรัชญากฎหมายแล้ว .. ก็ไม่มีบทสรุปว่าความยุติธรรมคืออะไร…ดังนั้น เมื่อใดมีคำถามผมว่าความยุติธรรมคืออะไร ..ผมมักจะไม่อาจตอบคำถามที่เค้าอยากฟังได้ …. ผมเป็นเพียงคนใช้กฎหมายตามที่นักรัฐศาสตร์บัญญัติจากสภาผู้แทนราษฏรผมย่อมยืนอยู่บนหลัก บริบทแห่งกฎหมายที่ตราไว้ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักและเกณฑ์ เหตุและผลที่อธิบายได้ … นักกฎหมายที่ดี ควรจะมีหลักที่ถูกต้องยึดมันให้มั่นดั่งน้ำเต็มแก้ว…และเมื่อเป็นน้ำเต็มแก้วแล้ว … หากมีน้ำสีอื่นที่ผิดเพี้ยนเราก็จะไม่ผิดเพี้ยนตามน้ำสีเค้าไป … และควรจะเทน้ำออกเก็บไว้ พร้อมรับน้ำใหม่ถ้าสีเหมือนกัน และปฏิเสธรับในน้ำต่างสีจากหลัก กฎหมายจะได้ไม่ปลอมปนจากหลักผิดเพี้ยนไปอย่างเช่นเป็นอยู่ในปัจจุบัน … ชีวิตคนก็เช่นกัน ควรจะมีหลักยึดเป็นของตัวเอง แต่ก็เปิดรับในสิ่งที่ถูกต้อง ปิดรับในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ส่วนคำว่าถูกต้องนั้นคืออะไร ก็ย่อมต้องมีหลักการและเหตุผลที่อธิบายได้ตามหลักสากล …และพยายามเทน้ำเก็บไว้ สะสมความรู้ไว้ให้มากพอ เพราะความรู้หากมีมากพอ ก็จะทำให้น้ำในถังมีน้ำหนักมากพอ จะไม่ไหวเอนต่อสิ่งเร้าทั้งหลาย … ลมแรงอาจจะพัดแก้วน้ำให้หกได้ …. แต่ลมต้องแรงอย่างมหาศาลถึงจะพัดถังที่เต็มไปด้วยน้ำจำนวนมากให้ปริวได้… ลองเลือกดูว่าจะเป็นน้ำแบบไหน

Back to Top